ส่องปีทองของธุรกิจสตรีมมิ่ง ที่จะเปลี่ยนไปตลอดกาล
เขียนโดย ยิ้มเก่ง
วันที่ 18.12.2020
เมื่อถนนทุกสายกำลังมุ่งสู่สตรีมมิ่งที่ปัจจุบันเติบโตทะลุเป้า จึงทำให้หลายบริษัทหันมาทุ่มสุดตัวให้กับโมเดลนี้ …
ไม่ว่าจะเป็นผู้เล่นหน้าใหม่มาแรงอย่าง Disney กับ Disney+ หรือผู้นำด้านสื่อสตรีมมิ่งแบบสมัครสมาชิกอย่าง Netflix และอีกหลายแพลตฟอร์มระดับโลก อาทิ บริษัทโทรคมนาคมยักษ์ใหญ่ของอเมริกาอย่าง AT&T กับ HBO Max และค่าย NBCUniversal กับ Peacock รวมถึงบริษัทเทนเซนต์เทคโนโลยียักษ์ใหญ่ของจีนกับ We TV และ Joox ที่ได้เข้ามาฝังตัวไว้ในไทยเรียบร้อยแล้ว
หรือที่คุณนิยมใช้กันเป็นอย่างมาก อาทิ Spotify, Apple One, Amazon, Youtube Premium, Viu และอีกมากมาย
จริงอยู่ที่ว่าโมเดลธุรกิจนี้เติบโตอย่างไม่คาดคิดจากปัจจัยของมาตรการล็อกดาวน์… แต่เท่าที่ดูตอนนี้สถานการณ์ของบางประเทศมีคลายล็อคดาวน์แล้ว ก็ไม่ได้ทำให้ตัวเลขสมาชิกมีแนวโน้มที่จะลดลงแต่กลับเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ หลายเท่าอีกด้วย
ปัจจุบันโมเดลธุรกิจนี้ (Subscription Model) ถูกนำไปปรับใช้ในหลายๆ แบรนด์ เช่น การให้ลูกค้าสมัครสมาชิก (Subscribers) ไม่ว่าจะเป็นรายวัน รายเดือน หรือรายปี เพื่อให้ลูกค้าใช้บริการอย่างต่อเนื่องและเก็บค่าบริการลูกค้าไปได้เรื่อยๆ เป็นประจำ ซึ่งจะแบ่งได้ 3 รูปแบบ ดังนี้
1. Subscribe for replenishment ช่วยให้ลูกค้าซื้อสิ่งที่จำเป็นได้โดยอัตโนมัติ เช่น มีดโกนและผ้าอ้อม เป็นต้น รูปแบบนี้จะช่วยลูกค้าประหยัดเวลาเป็นหลัก
2. Subscribe for curation เพื่อการนำเสนอผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ หรือประสบการณ์ที่เป็นส่วนตัว เช่น แฟชั่น เครื่องแต่งกาย และอาหาร ซึ่งแบบนี้จะทำให้ลูกค้ารู้สึกตื่นเต้นกับการได้รับสินค้าที่หลากหลาย แปลกใหม่ และตรงตามความต้องการมากขึ้น
3. Subscribe for access เพื่อรับสิทธิประโยชน์ต่างๆ แบบ VIP เช่น ราคาพิเศษสำหรับสมาชิกเท่านั้น รูปแบบนี้สามารถนำไปปรับให้เข้าได้หลายอุตสาหกรรม
ข้อดีที่น่าสนใจมากของของโมเดลนี้คือ..
1. ช่วยให้คุณคาดการณ์รายรับในอนาคตได้ ว่าคุณจะอย่างน้อยเท่าไหร่ต่อเดือน เพราะจำนวนสมาชิกที่มีความภักดีต่อแบรนด์ (Brand Loyalty) คือที่มาของรายได้โดยตรง
2. วัดผลได้ชัดเจนจากจำนวนสมาชิกที่ใช้ต่อเนื่อง เพราะนั่นอาจจะหมายความว่า ลูกค้ารู้สึกดีชื่อชอบกับสินค้า ซึ่งสามารถที่จะแบ่งกลุ่มลูกค้าได้ง่ายขึ้น เช่น “กลุ่มลูกค้าประจำ” หรือ ลูกค้าที่ชื่นชอบสินค้าA และจากสมาชิกที่ไม่ใช้บริการหรือผลิตภัณฑ์ต่อ เป็น “กลุ่มลูกค้าที่ไม่ใช้ผลิตภัณฑ์” ซึ่งคุณก็สามารถนำข้อมูลดังกล่าวไปปรับปรุงและพัฒนาให้ดีขึ้นได้
3. ธุรกิจเติบโตขึ้นพร้อมมีฐานลูกค้าประจำ (Loyalty Customers) แถมลูกค้ากลุ่มนี้ยังเต็มใจที่จะรีวิวดีกับธุรกิจอีกด้วย เช่น การบอกต่อและแนะนำให้กับคนอื่นฟรีๆ เพราะลูกค้ารู้สึกผูกพันกับธุรกิจและซื้อซ้ำเป็นประจำทุกเดือน
ไอเดียสำหรับธุรกิจที่อยากนำไปปรับใช้เพื่อสร้างจุดยืนในระยะยาว เช่น …
- ธุรกิจปรึกษาและโค้ชออนไลน์ เช่น ฟิตเนส โยคะ และอื่นๆ ผ่านการให้ข้อมูลและตรวจสอบผลลัพธ์ให้ลูกค้าทุกเดือนๆ
- ธุรกิจแฟชั่น (เสื้อผ้าหรือเครื่องประดับ) เช่น การที่ดีไซเนอร์ออกแบบสินค้าที่เหมาะกับลูกค้า (ที่เหมารายเดือน) แล้วส่งตรงถึงบ้านให้ลูกค้าทุกเดือน
- ธุรกิจความงามและอาหารเสริม เหมาะอย่างมาก เพราะลูกค้าส่วนมากจะกินหรือใช้ผลิตภัณฑ์ประเภทนี้อย่างต่อเนื่องทุกเดือนอยู่แล้ว ซึ่งจะช่วยให้ลูกค้ารู้สึกประหยัดเวลาและใช้สินค้าอย่างต่อเนื่อง เพราะทุกคนย่อมชอบความสะดวกสบายที่มากขึ้น
โมเดลธุรกิจนี้สร้างประสบการณ์ที่ดีและเป็นตัวสานสายสัมพันธ์ระยะยาวที่แข็งแกร่งกับลูกค้า แถมยังช่วยลดโอกาสบอกเลิกกับแบรนด์ และเปลี่ยนใจไปอุดหนุนแบรนด์อื่น
จึงทำให้การแข่งขันโมเดลนี้ดูจะดุเดือดมากขึ้นทุกวัน จึงเป็นที่มาให้หลายบริษัทหันมาทุ่มเงินมหาศาล เพื่อสร้างประสบการณ์หรือคอนเทนต์ที่ดึงดูดผู้บริโภคให้มาเป็นสมาชิกของตนเองได้มากที่สุด
ดังนั้นถ้าคุณเริ่มอยากที่จะกลยุทธ์หรือโมเดลนี้กับธุรกิจของคุณ ในปัจจุบันมีอยู่หลายเครื่องมือดีๆ ที่จะช่วยคุณจัดการสมาชิก แบ่งกลุ่มลูกค้าให้ตรงจุด เพื่อนำข้อมูลจากสมาชิกมาสร้างโปรโมชั่นแบบที่ใช่ หรือคอนเทนต์ให้ถูกใจลูกค้าได้อย่างต่อเนื่อง ที่จะทำให้ลูกค้ายอมที่จะชำระรายเดือนเพื่อแลกกับประสบการณ์ใหม่ๆ ที่ดูเหมือนสร้างมาอย่างดีเฉพาะเขา อย่างระบบ CRM ของ smileSME
Relate Blog
ขายของแพงอย่างไรให้คนแย่งกันซื้อ!!
หา “กลุ่มเป้าหมาย” ให้เจอก็เป็นสุข
กลยุทธ์ Customer Retention ที่ควรทำให้สำเร็จในปี 2021 (2/3)
แกะ 6 วิธีการใช้หมัดฮุคที่น้อคเอาท์ลูกค้ามานักต่อนัก
7 วิธีรักษา Customer Loyalty ที่ SME ก็ทำได้
วิธีเปลี่ยนลูกค้าขาจร ให้เป็นลูกค้าประจำ
การใช้ CRM ติดตามยอดขาย
CRM GOAL ฉบับ smileSME ข้อได้เปรียบทางธุรกิจที่คุณมี แต่คุณไม่เคยรู้
ถอดรหัสแฟชั่น Genderless ที่ไม่แคร์ไม่ได้ !!!