Ownership 5 วิธีสร้างจิตสำนึก สู่ความสำเร็จขององค์กร!!
เขียนโดย ยิ้มเก่ง
วันที่ 20.11.2020
 
 
 
 

ทำไมบางองค์กรอยู่รอด แม้ต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบธุรกิจ

จริงไหมที่ว่า หากทุกคนรู้สึกถึงคำว่า “Ownership” จะทำให้องค์กรก้าวผ่านทุกอุปสรรคไปได้
 
 
 “Ownership” หรือ ความรู้สึกว่าตนเป็นเจ้าของ นั้นควรเป็นพื้นฐานสำคัญของการทำ Culture ขององค์กร เพื่อกระตุ้นให้พนักงานรู้สึกประหนึ่งว่าเป็น “เจ้าของกิจการ” ซึ่งความรู้สึกนี้แหละที่จะนำพาองค์กรให้เติบโตไปได้อย่างรวดเร็วและยั่งยืนมากที่สุด
 
 
ซึ่งการที่จะทำให้พนักงานมี Mindset เช่นนั้นได้ คุณในฐานะผู้นำ (Leadership) จะแค่นับวันรอไม่ได้! แต่คุณต้องเป็นคนที่คอยผลักดันให้เกิดผลผลิตคุณภาพนั้นให้ได้เร็ววัน 
 
 
วันนี้ smileSME จึงอยากมาแชร์ “5 วิธีการพัฒนาจิตสำนึกความเป็นเจ้าของ” ที่จะไปช่วยเพิ่มผลผลิตขององค์กรให้มีประสิทธิภาพสูงสุด
 
 
 

5 วิธีการพัฒนาจิตสำนึกความเป็นเจ้าของ

1 ทุกคนร่วมมือกันเพื่อแบ่งปันวิสัยทัศน์

ถือเป็นการช่วยให้พนักงานคนหนึ่งรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของสิ่งที่ยิ่งใหญ่กว่าตัวเขาเอง (เทียบกับตำแหน่งและหน้าที่) คือ การสร้างโอกาสทุกคนในองค์กรสามารถที่จะคิดและช่วยกันกำหนดพันธกิจ วิสัยทัศน์ รวมถึงค่านิยมหลักขององค์กร ว่าจะไปในทิศทางไหน มีอะไรที่ต้องปรับเปลี่ยนจากเดิมหรือไม่ หรือนำเสนอเพิ่มเติมที่สามารถขับเคลื่อนองค์กรให้ก้าวไปข้างหน้าได้ (ซึ่งในอดีตผู้บริหารระดับสูงจะกำหนดมาไว้แล้ว)
 
 
เมื่อไหร่ที่พนักงานได้เห็นความเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดี (แม้จะเล็กน้อย) จากสิ่งที่พวกเขานำเสนอหรือว่าลงมือทำไปนั้น ก็จะยิ่งสร้างจิตสำนึกของ Ownership ให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้นไปอีก!
 
 

2 กล้าส่งต่อให้อำนาจการตัดสินใจ

วิธีนี้อาศัยการส่งเสริมและสร้างภาวะความเป็นผู้นำ คือ การปฏิบัติจริง เช่น การให้พนักงานดำเนินบทบาทการเป็นผู้นำสำหรับการประชุม เป็นต้น วิธีนี้จะปลุกศักยภาพในตัวให้ได้ใช้มากขึ้น แน่นอนส่งผลให้ความรู้และความสามารถรอบด้านก็จะพัฒนาสูงขึ้นตามไป ความมั่นใจในการตัดสินใจได้ดียิ่งขึ้น
 
 
แต่..วิธีนี้ต้องผ่านการคัดคนที่มีความเหมาะสมก่อน แล้วหลังจากนั้นต้องผ่านการพูดคุยขอบเขตอำนาจการตัดสินใจที่ชัดเจน
 
 

3 เชื่อมโยงการมีส่วนร่วมกับความสำเร็จขององค์กร

วิธีนี้เหมือนจะเป็นส่วนขยายของข้อแรก แต่ลงลึกถึงรายละเอียดเป็นบุคคล เพราะถือเป็นวิธีสื่อสารที่ทำให้พนักงานรู้สึกถึงคำว่า Ownership มากที่สุด 
 
 
การสร้างช่องทางที่ทำให้เขาได้รู้ผลลัพธ์ที่ชัดเจนว่า “ผลงานของเขามีผลกระทบโดยตรงต่อเป้าหมายหรือความสำเร็จขององค์กรที่วัดได้” มากน้อยแค่ไหน จะช่วยกระตุ้นและสร้างกำลังใจให้พวกอยากที่จะนำเสนอแนวคิดใหม่เพื่อพัฒนางานให้ได้ขึ้นไปอีก เช่น ผลงานคือขายได้ตามยอด และผลกระทบคือบริษัทมีผลประกอบเพิ่มมากขึ้นในไตรมาสนี้ เป็นต้น 
 
 

4 ให้อิสระในการทำงานมากขึ้น

อีกแนวทางสำคัญที่เห็นผลได้ชัดจากช่วงวิกฤตที่ผ่านมา เช่น การทำงานแบบ New Normal หรือ Remote Work ที่ยังคงมีอยู่แม้สถานการณ์จะกลับมาดีขึ้นแล้วก็ตาม ซึ่งนั่นหมายความว่า การมีอิสระในการทำงานนั้นก็สร้างประสิทธิภาพที่ดีมากเช่นกัน
 
 
ดังนั้นการมอบหมายงานที่ชัดเจน ไม่จู้จี้ถามทุกขั้นตอน แต่ออกแบบวิธีการแบบใหม่ที่อิสระมากยิ่งขึ้น จะช่วยสร้างทักษะ ความรับผิดชอบในการทำงาน และช่วยให้เขาได้รู้จักที่จะเรียนรู้จากข้อผิดพลาด จนสามารถที่จะหาทางออกหรือวิธีแก้ไขปัญหาได้อย่างครอบคลุมด้วยตัวเองได้อย่างดีที่สุด
 
 

5 บอกเขาว่าฉันไว้ใจคุณ

การส่งมอบความเชื่อใจ คือ อาหารเสริมที่ดีที่สุด คุ้มที่จะเสี่ยงเชื่อใจพวกเขาดูก่อนที่จะตัดสินใจหรือผลักดันเขาให้ไปถึงขีดจำกัด ความเชื่อใจจะส่งผลพนักงานมีความมั่นใจ ซึ่งความมั่นใจนั้นสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาตนเอง 
 
 
การที่คุณเชื่อมั่นว่า พนักงาน หรือเพื่อนร่วมทีมจะทำสิ่งที่ถูกต้องและได้ผลลัพธ์ที่ดีแน่นอน เพราะเมื่อไหร่ที่เขาได้รับความไว้วางใจจากคุณ เขาจะมีแนวคิดที่ว่า “เขาจะไม่ทำให้ทีมผิดหวัง” (ซึ่งการกระทำในที่นี้ตรงกันข้ามกับคำว่า Micro Managing สิ้นเชิง)
 
 
 

สรุปได้ว่า...

การสร้างจิตสำนึกในการเป็น Ownership มีประโยชน์อย่างมาก ไม่ว่าจะคนให้ (ผู้นำ) หรือคนรับ (ลูกน้อง) ก็ต่างได้พัฒนาในด้านของตัวเองทั้งนั้น เพราะสิ่งที่เรียกว่า “ทักษะ ความรู้ และความรับผิดชอบ” มันจะติดอยู่กับตัวบุคคล ไม่ได้ติดอยู่กับตำแหน่งงานหรือบริษัท ดังนั้นอย่าลืมที่จะนำคำว่า Ownership ไปเป็นหนึ่งในการสร้างวัฒนธรรมที่ดีในองค์กรของคุณ
 
Back
Share