“7 วิธีสร้างความเร่งด่วน” กระตุ้นยอดขายทันตา!
เขียนโดย ยิ้มเก่ง
วันที่ 19.05.2021
 
 
 
 
คุณรู้ไหมว่า ทุกวันนี้ลูกค้าเขารู้สึกว่าตัวเองตัวใหญ่ขึ้น?
พวกเขาเชื่อว่าตัวเองมีอำนาจมากกว่าร้านค้า โดยเฉพาะเวลาที่เห็นการแจ้งเตือนโปรของร้านค้าและแพลตฟอร์มต่างๆ...
 
มันไม่ผิดที่ลูกค้าเขาจะรู้สึกแบบนั้น เพราะทุกวันนี้โลกของเรามันเต็มไปด้วยตัวเลือกมากมายที่พวกคุณประโคมใส่พวกเขา ปัดซ้ายก็เจอลด50% เลื่อนขึ้นก็เห็น Flash Sale แกล้งเลื่อนลงก็หลบดีลเด็ด 6.6 ของเดือนหน้าไม่พ้น....
 
นี่แหละคือสิ่งที่ทำให้ผู้บริโภครู้สึกว่า “ฉันมีเวลามากมายที่จะนั่งเลือกสิ่งที่ดีที่สุดหรือสิ่งที่ฉันพอใจเท่านั้น” 
 
แต่จะทำอย่างไรได้ การทำการตลาดที่ต้องแจ้งเตือนให้ทันใจลูกค้ามันสำคัญมากในยุคนี้ แต่มันก็กลับกลายมาเป็นดาบสองคมที่ท้าทายกับแบรนด์ในเวลาเดียวกัน
 
ดังนั้น “การสร้างสถานการณ์เร่งด่วน (Scarcity&Urgency)” ให้ล้อกับธรรมชาติของมนุย์ จะช่วยให้ลูกค้าตัดสินใจคลิกซื้อสินค้าในร้านค้าคุณได้เร็วขึ้น! วันนี้เราเลยสรุป 7 วิธีมาให้นำไปปรับใช้ได้ง่ายๆ ดังนี้
 

1 ภาษาที่เร่งด่วน

ไม่ว่าจะคำหลักหรือวลีต่างๆ เช่น “โอกาสสุดท้าย” “รีบร้อน” และ “อย่าพลาด” เหล่านี้ล้วนเป็นภาษาสำคัญ ตลอดจนเครื่องหมายอัศเจรีย์หรือเครื่องหมายตกใจ (!) ที่จะช่วยสร้างโทนเสียงไปสู่ความเร่งด่วนได้มากขึ้นไปอีกนั่นเอง
 

2 ใช้ประโยชน์จากวันหยุด

วันหยุดที่ใช้สร้างความรู้สึกเร่งด่วนมาแล้วทั่วโลก คงหนีไม่พ้นวันคริสต์มาสและวันวาเลนไทน์ แต่ความเป็นจริงของ E-commerce ก็จะมีวันหยุดที่ช่วยกระตุ้นยอดขายให้สูงขึ้น เช่น Black Friday โดยเฉพาะกับสินค้ายอดนิยม เป็นต้น ถ้าหากใส่นาฬิกานับเวลาถอยหลังจนถึงวันสำคัญ เพื่อเตือนไม่ให้หลุดลอยไป หรือสร้าง Banner ขึ้นมาแล้วระบุว่า คุณมีเวลา X ชั่วโมงเพื่อยืนยันการจัดส่งก่อนวันที่ x เป็นต้น
 

3 แจ้งเตือนว่าเขาไม่ได้ดูแค่คนเดียว

ทั้งนี้การเร่งความรู้สึกไม่ได้เกี่ยวกับเรื่องปริมาณเท่านั้น แต่ยังเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างอุปทานและอุปสงค์ เช่น คุณสามารถพูดว่า “มีอีก 15 คนกำลังเรียกดูผลิตภัณฑ์ในขณะนี้” ตัวนับแบบนี้ก็เป็นตัวกระตุ้นที่แข็งแกร่งและมีหลายธุรกิจก็ใช้จนประสบความสำเร็จเช่นกัน 
 

4 แสดงจำนวนสต็อกที่เหลือน้อย

เราจะพบเจอกลยุทธนี้ได้ในหลายแพลตฟอร์มชื่อดัง เพราะ วิธีถือว่ามีประสิทธิภาพดีที่สุด การใช้จำนวนสต็อกที่เฉพาะเจาะจงจะช่วยดึงดูดสายตาและเร่งเร้าความรู้สึกของลูกค้าได้ดี เช่น สินค้ามีจำนวนจำกัด! เหลือ 1 ชิ้นสุดท้าย! เป็นต้น 
 

5 มีตัวเลือกการจัดส่งแบบด่วน

การซื้อสินค้าออนไลน์เป็นเรื่องของความพึงพอใจ แน่นอนว่าอะไรที่ช้าๆไม่ทันใจนั้นย่อมเป็นสิ่งที่ลูกค้าไม่ปราถนา การจัดส่งสินค้าจึงกลายเป็นสิ่งที่มีผลต่อความสนใจในผลิตภัณฑ์มากขึ้น ดังนั้นการเพิ่มตัวเลือกการจัดส่งจากแค่เริ่มจัดส่งในวันถัดไป ให้มีการจัดส่งในวันเดียวกันจะช่วยกระตุ้นให้ลูกค้าซื้อได้รวดเร็วยิ่งขึ้น หรือเสนอการจัดส่งฟรีในช่วงเวลาที่จำกัดสำหรับลูกค้า 3 คนถัดไป เป็นต้น
 

6 วันแห่งการกุศล

บางครั้งความเร่งด่วนก็สร้างขึ้นได้จากการคืนกำไรสู่สังคม เช่น ครบรอบ 5 ปี ร้านค้าจะนำรายได้ส่วนหนึ่งไปบริจาคให้กับมูลนิธิ เป็นต้น ลูกค้าจะรับรู้ถึงคุณค่าทางศีลธรรมของแบรนด์มากขึ้น ทำให้ซื้อสินค้าได้ง่ายๆแทนที่จะแค่แคปไว้แล้วมาซื้อที่หลัง
 

7 Pop-up สะกิดตอนจำเป็น

วิธีนี้ต้องถูกใช้ในดีลและเวลาที่กำหนดไว้ (Deadline) อย่างมีศิลปะ โดยต้องตรวจสอบให้แน่ใจว่าลูกค้าได้รับการแจ้งเตือนเสมอถึงการซื้อผลิตภัณฑ์ในร้าน จะเน้นเป็นวิธีสะกิดเป็นข้อความที่จำเป็น เช่น ผลิตภัณฑ์ที่คุณดูอยู่กำลังหมด หรือเตือนว่าพรุ่งนี้งดจัดส่ง เป็นต้น
 
 
ทั้งหมดนี้เรามองว่า การปรับแต่งร้านค้าให้สอดคล้องกับ 7 วิธีทฤษฎีการสร้างความเร่งด่วนนั้นสำคัญแต่ก็ไม่ควรละทิ้งวันพรุ่งนี้เช่นกัน ทั้งนี้ดูวางแผนให้ครอบคลุมแล้วลงมือทำให้เร็วที่สุดค่ะ
Back
Share