ความรู้สึกขาดแคลน (เทียม) ที่นักการตลาดควรใช้เป็นกลยุทธ์!
เขียนโดย ยิ้มเก่ง
วันที่ 12.05.2021
 
 
 
 
ในเมื่อหลายแบรนด์ระดับโลก ทำให้ผู้บริโภค “คลั่งรัก” ในแบรนด์และสินค้ามากขึ้นได้ ทำไมคุณไม่ทำบ้าง?
 
 
จริงอยู่ที่ว่า ร้านค้าที่ดีต้องมีลูกค้า... หลายแบรนด์จึงมักจะมีความคิดแรกที่ว่า ทำอย่างไรก็ได้ขอเพียงแค่ให้ลูกค้ามาเห็นร้านค้าหรือเข้ามาดูสินค้าฉันเยอะๆก่อนก็พอ
 
 
แล้วส่วนมากมันก็สมหวังอย่างง่ายดายที่ว่าพวกเขามีคนจำนวนหนึ่งเข้ามาดูร้านค้าคุณจริงๆ แต่พวกเขาเลื่อนดูด้วยความรู้สึกว่า ดูหน่อยก็ได้.. ใจเย็นราวกับไม่ได้มีความตื่นเต้นกับสินค้าคุณแม้แต่น้อย ถ้าเป็นแบบนี้คุณว่าดีแล้วหรอ? (สำหรับเราว่ามันน่าเสียดาย)
 
 
เพราะอะไรรู้ไหม? ลูกค้าเขาคิดว่าฉันมีเวลามากพอไม่ได้รีบไปไหน ดังนั้นสิ่งที่พวกเขาจะทำคือการเปิดร้านนู่นมาเทียบร้านนี่สลับไปดูร้านนู่น ซึ่งแน่นอนว่าร้านค้าของคุณก็จะกลายเป็นแค่หนึ่งในตัวเลือกของพวกเขา จากการเปรียบเทียบในด้านของราคาหรือตัวเลือกการจัดส่ง เป็นต้น
 
 
มากไปกว่านั้น อยากให้เปลี่ยนความคิดที่ว่า การเปิดร้านออนไลน์ที่ประสบความสำเร็จ คือ การแย่งชิงความสนใจของลูกค้ามาให้ได้มากที่สุด ไม่ว่าจะเป็นการฟันราคาแข่งกับตลาดจนต่ำ โดยอาจจะลืมไปว่ามันไปส่งผลกระทบให้ส่วนต่างของกำไร และยังลดคุณค่าของภาพลักษณ์ผลิตภัณฑ์ลงไปอีกด้วย
 
 
แต่ในทางกลับกัน ถ้าคุณ “เพิ่มตัวกระตุ้น” เพื่อเร่งความรู้สึกของลูกค้ามันจะช่วยให้คุณไม่ต้องลงไปอยู่ในสงครามของการแข่งขันด้วยราคาทันที “ความรู้สึกเร่งด่วน” จะกลายเป็นตัวกระตุ้นที่มีประสิทธิภาพในร้านค้าออนไลน์ของคุณ
 
 
แต่ทั้งนี้คุณต้องทำมันให้ถูกวิธีเท่านั้น ซึ่งวันนี้เราจะพาคุณไปดูก่อนว่า เหตุใดความรู้สึกเร่งด่วนจึงสำคัญในการสร้าง Conversion ของร้านค้าออนไลน์ในปัจจุบัน
 
 
คุณเชื่อเรื่องของทฤษฎี “การสร้างความรู้สึกขาดแคลน(เทียม)” ไหม (Artificial scarcity) ทฤษฎีที่ทำให้นักช้อปหลงกลไม่ว่าจะแกร่งแค่ไหนก็ตาม เพราะมันจะทำให้นักช้อปตัดสินใจได้เร็วขึ้นหรือเรียกว่าหุนหันพลันแล่นเลยก็ว่าได้ จากการใช้เทคนิคการสร้างคำหรือความหายากแบบปลอมๆขึ้นมา (โดยที่เขาจะลืมความรู้สึกว่าต้องหาข้อมูลเยอะๆไปเลย)
 
 
เพราะธรรมชาติของมนุษย์ มักจะอยากได้อะไรที่ “ยากหรือมีน้อย” ที่อ่านปุ๊บต้องทำให้ผู้บริโภครู้สึกว่าต้องรีบไปซื้อ!  ไม่ว่าจะต่อคิวยาวแค่ไหนฉันต้องได้มาครอบครอง! แต่ในความเป็นจริงอาจจะมีทั้งที่เป็นแบบนั้นและไม่เป็นแบบนั้นสะหมด เช่นคำว่า Limited, Seasonal Only, หมดแล้วหมดเลย, ขายแค่ 3 วันเท่านั้น, เหลือแค่1ชิ้นในสต็อก เป็นต้น จนทำให้เทคนิคนี้ถูกใช้อย่างมากในหลายธุรกิจและอยู่ในพื้นฐานคล้ายๆกัน
 
 
แต่จำไว้ว่า เทคนิคนี้ต้องถูกใช้ให้เหมาะสมและถูกจังหวะ เพราะลองคิดว่าดูว่า ถ้าเข้าไปทีไรก็เจอแต่คำว่า 1 Left in Stock ลูกค้าก็คงรู้สึกไม่ค่อยเชื่อเท่าไหร่
 
 
ส่วน 7 วิธีที่แบรนด์หรือร้านค้าออนไลน์สามารถเอาไปใช้ได้ง่าย ไปตามต่อในฉบับหน้าค่ะ
Back
Share