Gamification อาวุธ(ลับ)ออนไลน์ ชนะใจทุกวัย!!!!
เขียนโดย ยิ้มเก่ง
วันที่ 22.10.2020

 

 

ในยุคปัจจุบันมีใครบ้าง ไม่เคยเล่นเกม ??

 
Temple Run, Cookie Run, Coin Master หรือ Among Us เราเชื่อว่าหลายคนต้องคุ้นๆ กับชื่อเกมเหล่านี้ เนื่องจากได้รับความนิยมไปทั่วบ้านทั่วเมือง เพราะมันทั้งสนุกและชวนเสพติด! ถึงแม้แต่ละเกมจะมีแนวที่แตกต่างกัน แต่สิ่งหนึ่งที่เหมือนกันคือ ต้องการให้คน ‘เล่นเอามันส์ เพื่อเป้าหมายบางอย่าง’ 
 
 

คุณรู้ไหมว่า ‘‘เกม’’ ช่วยกระตุ้นให้ลูกค้าสนุกจนทำในสิ่งที่คุณกำหนดไว้ได้?

 
 
โลกหมุนเปลี่ยนไปทุกวัน พฤติกรรมของผู้บริโภคก็ย่อมเปลี่ยนไปด้วย ดังนั้นโลกของความเป็นจริงในการทำธุรกิจให้ประสบความสำเร็จ ไม่ใช่เพียงทำ Promotion Campaign ลดแลกแจกหรือแถมเหมือนเดิมแล้ว จึงทำให้หลายเจ้าหันมาใช้ ‘กลไกของ Gamification’ เพื่อสร้างแรงขับเคลื่อนทางด้านอารมณ์ที่อยากจะเอาชนะ แล้วได้มาซึ่งของรางวัลตอบแทน
 
 
 

Gamification คืออะไร

กระบวนการออกแบบที่ทำให้ผู้ใช้งานมีส่วนร่วมและสนุกในเวลาเดียวกัน จนสามารถที่จะเปลี่ยนพฤติกรรมบางอย่างของลูกค้า (หรือผู้ใช้งาน) ได้ เพื่อสร้างแรงกระตุ้นในการทำอะไรสักอย่าง เน้นการสร้างความตื่นเต้นและการเชื่อมต่อการมีส่วนร่วมกับลูกค้านอกจากวงจรการซื้อเพียงอย่างเดียว...
 
 
แต่! 'Gamification ในที่นี้ไม่เหมือน Game แต่มีเพียงบางส่วนที่มีความสนุกเสมือนเกมเท่านั้น' 
 
 
 

Gamification ทำอะไรได้บ้าง

ข้อแรกคือ การทำให้ทุกอย่างกลายเป็นเกม เพื่อสร้างประสบการณ์ใหม่ให้กับลูกค้า (หรือผู้ใช้) โดยเฉพาะอย่างยิ่งใส่ลงไปใน Loyalty Program ผ่านการสะสมคะแนน (Points) การสร้างหรือเลื่อนระดับสมาชิก (Badge) เช่น Silver, Gold และ Platinum เป็นต้น 
 
 
 

5 องค์ประกอบของ Gamification ที่ดี

แน่นอนว่าองค์ประกอบหลัก คือ ‘ความสุนกสนาน’ แต่ต้องไม่สนุกแบบฉาบฉวย (สามารถใช้หลักการแบบ Game Thinking) และของรางวัลต้องจูงใจที่ทำให้ลูกค้าอยากที่จะคว้ามา หรือผลักดันให้ลูกค้าอยากที่จะล่าขุมทรัพย์ในร้านค้าของคุณ
 
 

(1) การแข่งขัน

การแข่งขันที่ดีต้องผลักดันให้คนเกิดความรู้สึก ‘ฉันต้องเป็นที่หนึ่ง’ คือ Leader Board หรือตารางอันดับคะแนนที่แสดงผลคะแนนของผู้เล่นอันดับต้นๆ ที่จะช่วยสร้างแรงบันดาลกับลูกค้าคนอื่นให้อยากที่จะมาเล่นหรือมีส่วนร่วมมากขึ้น
 
 

(2) การชิงโชค

นอกจากการแข่งขันที่ต้องเล่นเพื่อเอาชนะ อาจทำให้บางคนรู้สึกหัวเสียในบางทีนั้น คุณก็ควรจะมีรางวัลแบบให้ลูกค้านั่งลุ้นสบายๆ คลายเครียดบ้าง เช่น การลุ้นโชคจากตัวเลขประจำวัน เป็นต้น
 
 

(3) ความท้าทายในการล่าสมบัติ

เนื้อหาต้องสนุกสนานและสะท้อนตัวตนของแบรนด์ แน่นอนว่าแนวนี้ต้องมีด่าน เพื่อให้ลูกค้าอยากที่เข้ามาปลดล็อกกิจกรรม เพื่อล่าของรางวัลต่างๆ 
 
โดยคุณสามารถที่จะใช้สินค้ามาเป็นส่วนหนึ่งในบริบทได้ เช่น สินค้าคอลเลคชันใหม่ในสไตล์ต่างๆ นอกจากลูกค้าสนุกแล้วคุณยังได้เรียนรู้ว่าลูกค้าชอบแบบไหนอย่างไร
 
 

(4) แบบทดสอบ 

Quiz สามารถทำได้แบบรายวัน โดยจะกำหนดช่วงเวลาในการร่วมสนุกเลยก็ได้ เพราะจะช่วยทำให้คุณรู้ได้ว่า “ใครคือแฟนคลับตัวจริงของคุณ”
 
ซึ่งจะแบบทดสอบหรือคำถามนั้นอาจจะเป็นเรื่องความรู้ทั่วไป หรือการสอบถามความพึงพอใจเกี่ยวกับแบรนด์ สินค้าหรือบริการก็ได้ เช่น การโหวตและการให้คะแนนสินค้า เป็นต้น
 
 

(5) วงล้อรางวัล

ถือเป็นหนึ่งองค์ประกอบที่เจอได้ในหลายเกม เพราะมันจะช่วยเตือนความจำของลูกค้าให้เข้ามา Check-in ร้านคุณทุกวัน เพื่อกดหมุน Spin the Wheel! ลุ้นรางวัล 
 
ดังนั้นรางวัลอาจจะไม่ต้องใหญ่โตทุกช่อง แต่ยังมีสัก 1-2 รางวัลที่ยังดึงดูดใจลูกค้าของคุณ เช่น คูปองของขวัญชิ้นเล็กที่ใช้ได้ในการซื้อครั้งถัดไป หรือสินค้าทดลองก่อนเปิดผลิตภัณฑ์ เป็นต้น
 
 
 

เหตุผลที่ต้องใช้ Gamification 

  • ดึงดูดความสนใจจากกลุ่มลูกค้าได้เป็นอย่างดี 
  • ได้เรียนรู้ความชอบ (เกี่ยวกับสินค้าหรือบริการ) ของลูกค้าเพิ่มเติม
  • ทำให้รู้ความคิดเห็น (เรื่องของผลิตภัณฑ์) ก่อนส่งผลิตจริง
  • ช่วยโปรโมตสินค้าหรือบริการได้อย่างน่าเหลือเชื่อ
  • มีผู้ติดตามแบรนด์หรือสินค้าเพิ่มมากขึ้น
 
 
 
ทิ้งท้ายไว้ว่า สำหรับบางคนที่พึ่งเคยได้ยิน อาจรู้สึกเหมือนว่ามันเป็นเรื่องใหม่เรื่องไกลตัว แต่จะบอกว่าอย่าไปกลัว เพราะตัวอย่างของแพลตฟอร์ม E-commerce หรือเกมที่คุณกำลังติดอยู่ นั่นแหละเป็นกรณีศึกษาที่ดี คุณสามารถหยิบยกบางส่วนที่น่าสนใจและเข้ากับธุรกิจของคุณมาปรับใช้
 
 
ดังนั้นหลังจากนี้ลองเปลี่ยนบทจากผู้เล่นมาเป็นผู้สร้างดู แค่คิดก็สนุกแล้ว!
Back
Share