ตั้งรับ New Normal ปรับธุรกิจเชื่อมความสัมพันธ์กับลูกค้า
โดย ยิ้มเก่ง 
28.04.2020
 
 

highlights:

คำที่เราได้ยินกันวันละไม่ต่ำกว่า 5 ครั้ง “New normal หรือ ความปกติใหม่?”

มันเคยถูกใช้มาก่อนไหม? ความหมายที่เข้าใจง่ายๆ คืออะไร?

 

 

คำนี้ถูกนำมาใช้ครั้งแรกโดยบิลล์ กรอส (Bill gross) นักลงทุนชื่อดังชาวอเมริกัน ผู้ก่อตั้งบริษัทบริหารสินทรัพย์ ซึ่งเขาใช้คำนี้เพื่ออธิบายถึงสภาวะเศรษฐกิจโลกที่ถดถอยหลังเกิดวิกฤตเศรษฐกิจแฮมเบอร์เกอร์ในสหรัฐอเมริกาในปี 2007-2008 และไม่นานเศรษฐกิจก็จะเริ่มฟื้นตัว ทั้งที่หลายคนมองว่า มันไม่สามารถกลับมาเติบโตได้เหมือนเดิมอีกต่อไป แต่สุดท้ายก็กลับมาเติบโตได้ดีอีกครั้ง ดังนั้นสิ่งนี้จึงเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ปกติ จนอาจเรียกว่าเป็น “เรื่องปกติ” 

 

ตอนนี้ทั้งโลกกำลังเผชิญกับคำนี้อีกครั้ง ในยุคของ Covid-19 ที่จะถูกใช้ในความหมายที่ว่า สิ่งที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน แต่จะเกิดขึ้นและกลายเป็นความปกติในรูปแบบใหม่ของการใช้ชีวิตของคนในสังคมที่จะเปลี่ยนไปหลังจากผ่านพ้นโรคระบาดนี้ไป ซึ่งอะไรก็ตามที่เกิดขึ้นใหม่หลังโควิด-19 จะถูกเรียกว่า  “New Normal

 
 
 

แล้วความปกติใหม่นี้หน้าตาเป็นอย่างไร คนทำธุรกิจจะเชื่อมต่อกับลูกค้าอย่างไร?

 

 

ปฏิเสธไม่ได้ว่าตอนนี้เรากำลังอยู่ในภาวะวิกฤต ซึ่งไม่ว่าจะเป็นธุรกิจน้อยใหญ่ก็หลีกเลี่ยงไม่ได้ ดังนั้นช่วงเวลาแบบนี้ถือว่าเป็นช่วงเวลาสำคัญในการดูแลและเชื่อมต่อความสัมพันธ์กับลูกค้า เพราะหลังจากที่วิกฤตเริ่มเบาลงหรือจบวิกฤตไปลูกค้ามักจะมองหาธุรกิจที่ทำให้เขารู้สึกดีในช่วงวิกฤต ดังนั้นสิ่งที่ควรทำคือการสร้าง Good Relationship กับลูกค้าไว้ให้นานที่สุด

 

 

สิ่งที่คนทำธุรกิจหรือองค์กรต้องคำนึงถึงและควรจะทำอย่างจริงใจ เพื่อตอบรับกับความต้องการของลูกค้ามากที่สุดในช่วงเวลาแบบนี้ ประกอบด้วย 3 สิ่ง คือ ความปลอดภัย ความสุขภาพ การดำรงชีวิต 

 

 

เราจึงขอยกบางประเด็นที่น่าสนใจจากบทความ Mckinsey&company ที่คาดว่าจะเป็นประโยชน์ต่อการนำไปปรับในธุรกิจสำหรับช่วงเวลานี้และในอนาคต

 

1. สร้างความมั่นใจในความปลอดภัย ยึดมาตราการ Social distancing 

ต้องมีการปฏิบัติอย่างชัดเจนและเคร่งครัด เช่น supermarket ที่มีการเปิดชั่วโมงช่วงเช้าให้เฉพาะผู้สูงอายุเข้าไปใช้บริการ เพราะคำนึงถึงอัตราความเสี่ยงของกลุ่มผู้สูงอายุที่ค่อนข้างสูงกว่ากลุ่มอายุอื่นๆ รวมถึงมาตรการความสะอาดต่างๆ เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับลูกค้า เช่น การพักให้เข้ารับบริการบางช่วง เพื่อทำความสะอาดในจุดต่างๆ รวมถึงการใช้ประโยชน์จากเครื่องมือดิจิทัลต่างๆเพื่อลดโอกาสในจุดสัมผัสที่จะเกิดขึ้น

 

 

2. ปรับเปลี่ยนโมเดลธุรกิจให้สอดคล้องกับสถานการณ์ 

หนึ่งในความท้าทายครั้งใหญ่ที่หลายบริษัทต้องกลับมานั่งคิดใหม่ และหาแผนสำรองเพื่อเสริมความแข็งแกร่งของบริษัทตนเอง เพราะถึงแม้เศรษฐกิจจะกลับมาเติบโตเหมือนเดิม แต่จะหวังให้ตัวเลขกลับไปโตเร็วเหมือนเดิมคงเป็นไปได้ยาก เช่น บริษัทผลิตชุดชั้นในก็สามารถผลิตหน้ากากอนามัย หรือบริษัทขนส่งก็สามารถเปิดบริการขนส่งของที่จำเป็นต่อการแพทย์เพื่อแสดงความช่วยเหลือได้

 

 

3. แสดงความช่วยเหลือเพื่อช่วยเพิ่มสภาพคล่อง

นอกจากความปลอดภัยแล้ว ปัญหาเรื่องรายได้และสภาพคล่องก็เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้เช่นกัน ความยืดหยุ่นของบริษัทจึงเป็นสิ่งที่ควรทำเพื่อบรรเทาความเครียดของลูกค้า เช่น การลดอัตราดอกเบี้ยต่างๆ การยกเว้นค่าธรรมเนียม การให้ใช้ฟรี เช่น Burger King ในสหรัฐอเมริกา ที่ออกมาทำแคมเปญเมื่อซื้อผ่านแอปพลิเคชั่นแถมฟรีชุดอาหารเด็ก 2 มื้อ ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่ชัดเจนในเจตนาที่ต้องการจะช่วยเหลือซึ่งกันและกัน

 

 

4. สร้างความสุขให้ลูกค้าถึงแม้จะติดอยู่บ้าน 

การติดอยู่บ้านไม่ใช่สิ่งที่เราคุ้นเคย ทำให้ปัญหาความกังวลและความเครียดไม่ใช่เรื่องเล็กสำหรับการต้องอยู่บ้านเป็นเวลานานๆติดต่อกัน ดังนั้นการสร้างอะไรให้ลูกค้าสนุกสนานให้กับการอยู่บ้าน เพื่อลดความตึงเครียดภายในครอบครัวที่ต้องใช้เวลาอยู่ร่วมกันจึงเป็นสิ่งจำเป็น แถมช่วยหลีกเลี่ยงการเกิดปัญหาความเครียดที่อาจก่อให้เกิดความรุนแรงภายในครอบครัวได้ด้วย เช่น บริษัท Disney ที่เปิดตัวแพลตฟอร์มการ Streaming ที่เป็นมิตรกับครอบครัวเร็วกว่ากำหนดการ 3 เดือน และVoucher Tour ของ Google ที่สามารถค้นหาคำว่า Art and Culture ก็เสมือนเราได้ไปชมพิพิธภัณฑ์ได้ทั่วโลก เป็นต้น

 

 

5. ย้ายตัวเองและลูกค้าไป Online 

ต่อให้คุณคิดว่าธุรกิจของคุณไปออนไลน์ไม่ได้ ก็ต้องเริ่มหาวิธี ปรับข้อเสนอ หรือเพิ่มลูกเล่นต่างๆให้ทันกับความต้องการของลูกค้า เช่น ธุรกิจฟิตเนสที่ถูกปิดแต่เขาก็ให้คนเช่าเครื่องออกกำลังกาย แล้วเสนอหลักสูตรการสอนผ่านออนไลน์ฟรี รวมถึงธนาคารที่เริ่มทำ Tutorial แบบง่ายที่สามารถดูแล้วเข้าใจได้เสมือนสอบถามกับพนักงานที่สาขา

 

 

6.รอบคอบและเห็นอกเห็นใจลูกค้า

เมื่อร้านค้าต้องถูกปิดชั่วคราวหรือลดสาขาในการเปิดให้รับบริการ ทำให้ลูกค้าต้องหันมาหาช่องทางอื่นๆในการติดต่อสอบถาม ส่งผลให้การบริการผ่านโทรศัพท์เพิ่มมากขึ้น เช่น บริษัท Telco การเพิ่มจำนวน call center จำนวน 10,000 คน และเพิ่มเวลาทำการเป็น 24 ชม. เพื่อให้สามารถรับสายได้อย่างรวดเร็วและทันกับความต้องการของลูกค้าเพื่อให้ไม่ให้ลูกค้าเครียดกว่าเดิม 

 

 

เมื่อการระบาดของโควิด-19 ส่งผลให้สถานการณ์ตอนนี้ลูกค้าหันมาเลือกซื้อหรือบริการสินค้าจากการมององค์กรที่ให้ความใส่ใจในการช่วยเหลือคน สังคม และโลก ดังนั้นสิ่งที่คุณอาจจะต้องลืมไปก่อนคือ ผลกำไรต่างๆ เพราะปัจจัยที่สำคัญที่สุดคือ ภาพลักษณ์ขององค์กร การเอาใจใส่ลูกค้าในช่วงเวลาที่เขาลำบากจะทำให้คุณมีโอกาสที่จะเชื่อมต่อลูกค้าได้ แถมเพิ่ม Company Value ให้องค์กรอย่างแท้จริงและลูกค้าจะจดจำคุณถึงแม้โควิดจะหมดไป

 

อ้างอิง:

https://www.mckinsey.com/business-functions/marketing-and-sales/our-insights/connecting-with-customers-in-times-of-crisis

 

รูป:

http://www.wacoal.co.th/?q=news/วาโก้เดินหน้าผลิตหน้ากากอนามัยแจกฟรี-จับมือคนไทยผ่านวิกฤติ-โควิด-19

 

 

 

TAG: #crmbysmileSME #smileFOKUS

Back
Share